เจาะลึก! ทำเว็บไซต์ สไตล์ญี่ปุ่น
เจาะลึก! ทำเว็บไซต์ สไตล์ญี่ปุ่น
จำนวนเข้าชม: 5,760 | 13/11/2014
ของเว็บไซต์ในญี่ปุ่นว่าทำไมถึงดูเก่าๆ และสาเหตุมาจากอะไร จึงนำมาเรียบเรียงให้คนไทยได้อ่านกันครับ
มีมุมมองที่น่าสนใจ และใช้ได้กับเทรนด์เว็บดีไซน์ของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน ไต้หวัน เป็นต้น
โดยท่านใดที่ต้องการอ่านบทความต้นฉบับ (ภาษาอังกฤษ) เกี่ยวกับเทรนด์การออกแบบเว็บไซต์ในญี่ปุ่น
สามารถอ่านได้ที่บทความ Why Japanese Web Design is So. Different – Random Wire เลยครับผม
ส่วนท่านใดสะดวกภาษาไทยก็อ่านต่อเลยครับ ความ “เก่า” ในงานเว็บดีไซน์ของญี่ปุ่น
เวลา นึกถึงประเทศญี่ปุ่น เรามักนึกถึงการ์ตูน อนิเมชั่นน่ารักๆ, เทคโนโลยีสุดทันสมัย. หรือวัดสวยๆ สวนเท่ๆ สไตล์ ZEN สำหรับในวงการดีไซน์แขนงต่างๆ
ทั้ง Product Design (ออกแบบสินค้า), Advertisement Design (ออกแบบโฆษณา) ของญี่ปุุ่นก็มีชื่อเสียงอย่างมาก
น่าแปลกที่ ความสวยงามเหล่านี้ไม่เคยถูกนำมาใช้กับเว็บดีไซน์
เว็บไซต์ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นในปัจจุบันจะดูเก่าๆ ขาดความทันสมัย เหมือนกับออกมาจากยุค 10 ปีที่แล้ว ลองดูเว็บไซต์ด้านล่างเป็นตัวอย่างนะครับ

ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ rakuten.co.jp — รูปจากบทความต้นฉบับ
ไม่ใช่แค่เว็บไซต์นี้เว็บไซต์เดียวนะครับ ลองดูตัวอย่างเว็บไซต์สำเร็จรุปอื่นๆ ของญี่ปุ่นเพิ่มเติม: Goo, OKWave, Yomiuri (หนังสือพิมพ์ชื่อดังของญี่ปุ่น),
Niconico (เว็บไซต์แนว Youtube ชื่อดังของญี่ปุ่น), Cosme(อันนี้น่าจะแนว Jeban ครับ)
สิ่งที่เราสรุปได้จากการดีไซน์เว็บไซต์สไตล์ญี่ปุ่น
- ตัวหนังสือเยอะๆ แน่นๆ
- รูปเล็กๆ ไม่ชัด
- คอลัมน์เยอะ ขนาดที่ว่า Grid System ทั่วไปคงไม่พอ
- สีสันสดใส จนถึงเกือบลายตา
- ใช้เทคโนโลยีเก่าๆ เช่น Flash เยอะมาก
"ภาษา" ปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ขอขอบคุณรูปจาก Shootjapan.com
ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นที่เรียกว่า "คันจิ" มีต้นแบบมาจากภาษาจีนครับ ซึ่งถ้าใครเคยเรียนภาษาใดภาษาหนึ่งมาก่อนจะทราบว่า 1 ตัวอักษร
สามารถอ่านเป็นคำแปลออกมาได้หลายความหมาย เพราะฉะนั้นภาษาญี่ปุ่นสามารถเขียนประโยคโดยใช้ตัวอักษรไม่กี่ตัวก็เก็บรายละเอียดครบ
สิ่งนี้ทำให้ในวัฒนธรรมการสื่อสารของญี่ปุ่น ผู้เขียนสามารถอธิบายเนื้อหาได้เจาะลึกโดยใช้พื้นที่ที่น้อยกว่าภาษาอังกฤษ(หรือภาษาไทยเรา) หลายเท่า
และผู้อ่านญี่ปุ่นก็จะชินกับการสื่อสารแบบนั้น สังเกตจากรูปหนังสือพิมพ์ด้านบน จะเห็นว่ามีการใช้พื้นที่ได้คุ้มค่า ตัวอักษรอัดแน่นเต็มแผ่นครับ
นอกจากนี้ ภาษาญี่ปุ่นไม่มีตัวอักษรเอียง หรือตัวอักษรใหญ่-เล็ก(แบบ A กับ a ในภาษาอังกฤษ) ทำให้ภาษาญี่ปุ่นไม่สามารถเขียนเน้นคำได้
ลองคิดว่าถ้าปุ่มซื้อของปุ่มหนึ่งเขียนว่า “BUY NOW” กับอีกปุ่มเขียน “buy now” เราก็จะสนใจปุ่มแบบแรกมากกว่าเพราะตัวอักษรใหญ่เด่นกว่าครับ
ทำให้ผู้อ่านเว็บไซต์ภาษาญี่ปุ่นรู้ได้ยากที่จะบอกว่าส่วนไหนสำคัญกว่าส่วนไหน วิธีแก้ที่เค้าใช้กันก็คือ ทำตัวอักษรเป็น Graphic ให้ดูเด่นขึ้นครับ
สำหรับ เหตุผลสุดท้ายเลยก็คือ Language Barrier หมายถึง ความแตกต่างของภาษาที่ทำให้ยากต่อการสื่อสาร
อย่างที่ทราบกันว่าผู้สร้างภาษาโปรแกรมมิ่งส่วนใหญ่เป็นคนฝรั่ง(ยกเว้น Ruby นะครับ อันนี้คนญี่ปุ่นทำ)
จึงทำให้การสไตล์การเขียน หรือ Documentation, บทความสอนการทำเว็บ ใช้งาน เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
สำหรับประเทศที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษจึงเป็นเรื่องยากที่จะตามทันเทคโนโลยีครับ
คิดว่าเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาสำหรับคนไทยเหมือนกันครับ บางคนไม่เก่งภาษาอังกฤษก็ต้องรอไปเป็นปีกว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ จะมาถึงไทย
เรียบเรียงโดย ทำเว็บไซต์ ด้วย iGetWeb